สายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วง (องค์การอนามัยโลก) ของ สายพันธุ์ของ_SARS-CoV-2

สายพันธุ์ในหัวข้อนี้จัดเป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วง (Variants of Concern, VOC) ตามองค์การอนามัยโลก[11] ให้สังเกตว่า องค์กรต่าง ๆ เช่น ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐอาจมีรายการที่ต่างกันบ้าง[12]

อัลฟา (B.1.1.7)

ดูบทความหลักที่: ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์แอลฟา
ภาพสีปลอมซึ่งถ่ายด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องผ่าน (TEM) ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ B.1.1.7ดการเพิ่มการติดต่อของสายพันธุ์เชื่อว่า มาจากโครงสร้างโปรตีนหนาม (spike protein) ที่เปลี่ยนไป ซึ่งในภาพแสดงเป็นสีเขียว

สายพันธุ์อัลฟา (B.1.1.7)[85] ได้ตรวจพบครั้งแรกเมื่อเดือนตุลาคมในสหราชอาณาจักรจากตัวอย่างที่ได้เดือนก่อนในมณฑลเคนต์[86]จัดเป็นสายพันธุ์แรกที่ระบุว่ากำลังตรวจสอบเริ่มในเดือนธันวาคม 2020 (VUI - 202012/01)[87]แล้วต่อมาเลื่อนเป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วง VOC-202012/01[13]มีชื่อเรียกอื่นว่า 20I/501Y.V1 (เดิมว่า 20B/501Y.V1)[88][89][82]ตั้งแต่นั้น ค่าความชุกโรคแบบ prevalence odds ก็เพิ่มเป็นทวีคูณทุก ๆ 6.5 วัน ซึ่งเชื่อว่าเป็นระยะเวลาที่โรคติดต่อรุ่นต่อรุ่น (generational interval)[90][91]มันมีสหสัมพันธ์กับอัตราการติดโรคโควิดใหม่ในสหราชอาณาจักอย่างสำคัญ โดยส่วนหนึ่งกับการกลายพันธุ์แบบ N501Y ด้วย[92]

มีหลักฐานบ้างว่า สายพันธุ์นี้ติดง่ายขึ้นร้อยละ 40-80 (ค่าประเมินต่าง ๆ โดยมากจะอยู่ทางด้านมาก)[93]และงานวิเคราะห์แรก ๆ ก็ระบุว่า ทำให้ถึงตายเพิ่มขึ้น[94][95]แต่งานเร็ว ๆ นี้กลับไม่พบหลักฐานว่าทำให้โรครุนแรงยิ่งขึ้น[96]จนถึงเดือนพฤษภาคม 2021 สายพันธุ์อัลฟาได้ตรวจพบในประเทศกว่า 120 ประเทศแล้ว[97]

B.1.1.7 บวกกับการกลายพันธุ์ E484K

สายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงคือ Variant of Concern 21FEB-02 (เคยเขียนว่า VOC-202102/02) ที่กระทรวงสาธารณสุขอังกฤษอธิบายว่า เป็นสายพันธุ์ B.1.1.7 บวกกับการกลายพันธุ์ E484K[13]จนถึงวันที่ 17 มีนาคม 2021 มีกรณีคนไข้ที่ยืนยันแล้ว 39 กรณีในสหราชอาณาจักร[13]ในวันที่ 4 มีนาคม 2021 นักวิทยาศาสตร์ได้พบสายพันธุ์นี้ในรัฐออริกอนของสหรัฐโดยพบในตัวอย่างหนึ่งใน 13 ตัวอย่างที่วิเคราะห์ แต่ดูเหมือนจะเกิดขึ้นเองในพื้นที่ คือไม่ได้นำเข้าจากประเทศอื่น[98][99][100]

ชื่ออื่น ๆ สำหรับสายพันธุ์นี้รวมทั้ง B.1.1.7+E484K[101]และ B.1.1.7 Lineage with S:E484K[102]

เบตา (B.1.351)

ในวันที่ 18 ธันวาคม 2020 สายพันธุ์เบตา หรือ 501.V2 หรือ 20H/501Y.V2 (ก่อนหน้านี้ 20C/501Y.V2) หรือ VOC-20DEC-02 (ก่อนหน้านี้ VOC-202012/02) หรือ B.1.351[82]ได้พบในแอฟริกาใต้เป็นครั้งแรก[103]นักวิจัยและเจ้าหน้าที่รายงานว่า เทียบกับสายพันธุ์อื่น ๆ ความชุกสายพันธุ์นี้สูงกว่าในบรรดาคนอายุน้อยที่สุขภาพดี และทำให้มีอาการหนักกว่า[104][105]กระทรวงสาธารณสุขแอฟริกาใต้ยังระบุด้วยว่า สายพันธุ์นี้อาจเป็นตัวขับการระบาดทั่วรอบสองในประเทศเพราะติดต่อกันได้เร็วกว่าสายพันธุ์ก่อน ๆ[103][104]

นักวิทยาศาสตร์ให้ข้อสังเกตว่า สายพันธุ์นี้จับกับเซลล์มนุษย์ได้ดีกว่าเพราะไกลโคโปรตีนหนาม (spike glycoprotein) ของไวรัสมีการกลายพันธุ์ 3 อย่างใน receptor-binding domain (RBD) รวมทั้ง N501Y[103][106],K417N และ E484K[107][108]

แกมมา (P.1)

พีเอชอีระบุสายพันธุ์แกมม (P.1) ว่าน่าเป็นห่วงโดยตั้งชื่อว่า VOC 21JAN-02[13](เดิม VOC-202101/02)[13]ส่วนเน็กซต์สเตรน[upper-alpha 3] ตั้งชื่อมันว่า 20J/501Y.V3[12]หรือ 20J (V3)[20] หรือ 501Y.V3[39]สถาบันโรคติดต่อแห่งชาติญี่ปุ่น (NIID) ตรวจพบมันเป็นครั้งแรกในนครโตเกียวในวันที่ 6 มกราคม 2021จากผู้เดินทางมาจากรัฐอามาโซนัส (บราซิล) 4 คน[109]ในวันที่ 12 มกราคม 2021 ศูนย์ Brazil-UK CADDE Centre ในบราซิลยืนยันว่า มีสายพันธุ์ P.1 ในพื้นที่ที่พบในป่าดิบชื้นแอมะซอน[110]สายพันธุ์นี้ตั้งชื่อว่า P.1 แม้จะมีบรรพบุรุษเป็น B.1.1.28 แต่เพราะตั้งเป็น B.1.1.28.1 ไม่ได้ (ตามกฎระบบการตั้งชื่อ) จึงตั้งเป็นชื่อนี้ มันมีกรดอะมิโนที่เปลี่ยนไปโดยเฉพาะ ๆ 17 อย่างโดย 10 อย่างอยู่ในโปรตีนหนาม รวมทั้งการกลายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงคือ N501Y, E484K และ K417T.[110][111][112][113]:Figure 5

เพราะการกลายพันธุ์ N501Y และ E484K มักก่อ RBD-hACE2 complex ที่เสถียร ดังนั้นจึงเพิ่มสัมพรรคภาพการจับของ RBD เข้ากับ hACE2แต่ในนัยตรงข้าม การกลายพันธุ์ K417T มักไม่ก่อการจับกันระหว่าง RBD กับ hACE2 โดยได้พิสูจน์แล้วว่า ลดสัมพรรคภาพการจับของ RBD กับ hACE2[1]

สายพันธุ์นี้ไม่พบในเมืองมาเนาส์ (รัฐอามาโซนัส) ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤศจิกายน 2020 แต่พบในตัวอย่างร้อยละ 42 ระหว่างวันที่ 15-23 ธค., ร้อยละ 52.2 ระหว่าง 15-31 ธค. และร้อยละ 85.4 ระหว่าง 1-9 มกราคม 2021[110]งานศึกษาหนึ่งพบว่า การติดเชื้อ P.1 อาจสร้างจำนวนไวรัสเกือบ 10 เท่าเทียบกับสายพันธุ์บราซิลอื่น ๆ คือ B.1.1.28 หรือ B.1.195โดยติดต่อได้ง่ายกว่า 2.2 เท่า ติดได้ทั้งผู้ใหญ่และคนชรา ซึ่งแสดงว่า ทำให้มนุษย์ที่อายุน้อยกว่าติดได้มากกว่าไม่ว่าจะเป็นเพศไหน[114]

งานศึกษาตัวอย่างที่ได้จากเมืองมาเนาส์ระหว่างเดือน พย. 2020 - มค. 2021 แสดงว่า สายพันธุ์ P.1 ติดต่อได้ง่ายกว่าง 1.4-2.2 เท่า และพบว่าหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดโรคไวรัสโคโรนาก่อน ๆ ได้ร้อยละ 25-61 ทำให้มีโอกาสติดเชื้ออีกแม้หลังติดโรคโควิดมาก่อนแล้วP.1 ยังทำให้ถึงตายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-80[115][116][34]

งานศึกษาหนึ่งพบว่า คนที่ได้วัคซีนของไฟเซอร์และของโมเดอร์นาอย่างสมบูรณ์แล้ว จะมีแอนติบอดีที่กำจัดฤทธิ์ของ P.1 ได้ลดลง แม้ผลต่อการดำเนินของโรคจะยังไม่ชัดเจน[117]

ข้อมูลเบื้องต้นจากงานศึกษาสองงานระบุว่า วัคซีนของแอสตราเซเนกายังมีประสิทธิผลต่อสายพันธุ์ P.1 แม้ระดับประสิทธิศักย์ที่แน่นอนจะยังไม่ได้ตีพิมพ์[118][119]

งานศึกษาในบราซิล (ของ Oswaldo Cruz Foundation) ที่ยังไม่ได้ทบทวนโดยผู้รู้เสมอกันในต้นเดือนเมษายน 2021 พบว่า ในสถานการณ์จริง ๆ วัคซีนของซิโนแวคโดสแรกมีประสิทธิศักย์ประมาณร้อยละ 50โดยคาดว่า จะสูงขึ้นเมื่อได้โดสที่สองงานศึกษานี้ยังดำเนินไปอยู่[120] ส่วนข้อมูลเบื้องต้นจากงานศึกษาที่สถาบันวิจัยบราซิลคือ Instituto Butantan เป็นผู้ดำเนินการแสดงนัยว่า วัคซีนของซิโนแวคมีประสิทธิผลต่อต้านสายพันธุ์นี้เช่นกัน โดยสถาบันจะขยายงานเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แน่นอน[121]

เดลตา (B.1.617.2)

ดูบทความหลักที่: ไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์เดลตา

สายพันธุ์เดลตา หรือ B.1.617.2 หรือ G/452R.V3 หรือ 21A[20]หรือ 21A/S:478K[30]ได้พบครั้งแรกในอินเดียเมื่อเดือนตุลาคม 2020 แต่หลังจากนั้นก็ได้กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ แล้วเป็นสายพันธุ์ลูกหลานของ B.1.617 เช่นเดียวกับสายพันธุ์แคปปาที่กำลังตรวจสอบ[122][123][124][125][126]ในวันที่ 6 พฤษภาคม 2021 นักวิทยาศาสตร์อังกฤษได้ประกาศสายพันธุ์นี้ (ซึ่งมีจุดเด่นคือ ไม่มีการกลายพันธุ์ E484Q) ว่าเป็นสายพันธุ์ที่น่าเป็นห่วงโดยกำหนดรหัสเป็น VOC-21APR-02 หลังจากที่พบหลักฐานว่ามันกระจายไปได้เร็วกว่าไวรัสดั้งเดิมและอาจกระจายได้เร็วเท่าสายพันธุ์อัลฟา[127][128][129]มันมีการกลายพันธุ์ L452R, T478K และ P681R[45]แต่ก็ไม่เหมือนกับสายพันธุ์แคปปาเพราะไม่มีการกลายพันธุ์ E484Q

ในวันที่ 3 มิถุนายน 2021 พีเอชอีรายงานว่า การเสียชีวิต 12 รายจาก 42 รายเนื่องกับสายพันธุ์เดลตาในอังกฤษเป็นคนได้รับวัคซีนอย่างสมบูรณ์แล้ว และเชื้อยังกระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟาเป็นสองเท่าอีกด้วย[46]ในวันที่ 11 มิย. ศูนย์การแพทย์ในแคนาดาแห่งหนึ่งได้รายงานว่า ในบรรดาคนไข้ 22 รายที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา ครึ่งหนึ่งเป็นผู้ได้วัคซีนอย่างสมบูรณ์แล้ว[130]

ในเดือนมิถุนายน 2021 มีรายงานว่ามีรูปแปรของสายพันธุ์เดลตาบวกกับการกลายพันธุ์ K417N โดยเรียกกันเป็นภาษาพูดว่า สายพันธุ์เนปาล[131]การกลายพันธุ์นี้ซึ่งก็พบในสายพันธุ์เบตาด้วยอาจ ลดประสิทธิภาพของวัคซีนและการรักษาด้วยแอนติบอดี โดยยังอาจเพิ่มความเสี่ยงการติดโรคซ้ำอีกด้วย[132]พีเอชอีเรียกสายพันธุ์นี้ว่า เดลตาบวกกับ K417N ส่วนแพงโกจัดสายพันธุ์ให้อยู่ในเคลด 2 เคลดคือ AY.1 และ AY.2[46][133]โดยยังมีชื่อเล่นว่า เดลตาพลัส ด้วย[134]ซึ่งย่อมาจาก เดลตาพลัส K417N[135]ในวันที่ 22 มิถุนายน อินเดียระบุสายพันธุ์เดลตาพลัสว่าเป็นสายพันธุ์น่าเป็นห่วงเพราะพบกรณี 22 กรณีในอินเดีย[136]แต่ผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาการระบาดก็กล่าวว่า ยังไม่มีข้อมูลเพียงพอที่จะสนับสนุนให้ใช้ชื่อต่างหากเพราะการศึกษาได้ทำกับคนไข้เพียงจำนวนน้อย[137]

ใกล้เคียง

สายพันธุ์ของ SARS-CoV-2 สายพันธุ์ที่น่ากังวล สายพันธุ์อะโรวาน่าที่นิยมของตลาด สายพันธุ์ B.1.617.2 สายพันธุ์ สายพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ สายพันธุ์ดั้งเดิม สายพันธุ์อัลฟา สายัณห์ สัญญา สารพันปัญหาวุ่นวาย ของยัยแวมไพร์ขี้จุ๊